การใช้พลุสารดูดความชื้นที่มีผลต่อลักษณะเมฆฟิสิกส์ที่ระดับฐานเมฆคิวมูลัส

Authors

  • หนึ่งหทัย ตันติพลับทอง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้พลุสารดูดความชื้นสูตรโซเดียมคลอไรด์ และสูตรแคลเซียมคลอไรด์ที่มีผลต่อลักษณะเมฆฟิสิกส์ที่ระดับฐานเมฆคิวมูลัส โดยตรวจวัดกลุ่มเมฆที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติ (ไม่ใช้พลุสารดูดความชื้น) กลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์ และกลุ่มเมฆ ที่ใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์ ได้แก่ ปริมาณน้ำ ขนาดและปริมาณความเข้มข้นของเม็ดน้ำที่ระดับฐานเมฆ ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธี paired samples t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลด้วยวิธี independent samples t-test จากผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเมฆที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติ (ไม่ใช้พลุสารดูดความชื้น) พบว่า หลังการใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์เม็ดน้ำที่ฐานเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีขนาดเม็ดน้ำที่ใหญ่กว่าการใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์ แต่การใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำและเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของเม็ดน้ำได้ดีกว่าทั้งกลุ่มเมฆที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติและกลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์ จึงมีความเหมาะสมในการใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์กระตุ้นและเร่งประสิทธิภาพการเพิ่มขนาดเม็ดน้ำที่ระดับฐานเมฆ หากต้องการเพิ่มปริมาณน้ำและปริมาณความเข้มข้นของเม็ดน้ำก็ควรใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์ อย่างไรก็ดี การใช้พลุสารดูดความชื้นทั้งสองสูตรช่วยกระตุ้นเร่งเร้าการเพิ่มขนาดของเม็ดน้ำได้ดีกว่าปล่อยให้เม็ดน้ำเพิ่มขนาดเองตามธรรมชาติคำสำคัญ  :  พลุสารดูดความชื้น เมฆฟิสิกส์ ฐานเมฆคิวมูลัส

Downloads

Published

2014-10-14

Issue

Section

Research Article