ระดับคลอไรด์วิกฤติในคอนกรีตที่ผสมเถ้าแกลบเปลือกไม้ที่แช่ในสภาวะแวดล้อมทะเล

Authors

  • วิเชียร ชาลี

Abstract

บทคัดย่อ            งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลของเถ้าแกลบเปลือกไม้และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน ต่อระดับคลอไรด์วิกฤติในคอนกรีตที่แช่ในสภาวะแวดล้อมน้ำทะเล โดยใช้คอนกรีตควบคุมทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (W/B) เท่ากับ 0.45 และ 0.65 ในแต่ละอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน ใช้เถ้าแกลบเปลือกไม้ที่ผ่านการบดละเอียดแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 15  25  35 และ 50 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ตัวอย่างคอนกรีตขนาด 200x200x200 มม.3 และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ยาว 50 มม.  โดยมีระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเท่ากับ 10  20 50 และ 75 มม.  หลังจากบ่มคอนกรีตในน้ำจนอายุครบ 28 วัน นำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่บริเวณชายฝั่งทะเลใน จ.ชลบุรี ทำการเก็บตัวอย่างทดสอบปริมาณคลอไรด์อิสระ (ใช้น้ำทำละลาย) และคลอไรด์ทั้งหมด (ใช้กรดทำละลาย) ในคอนกรีต ณ ตำแหน่งที่ฝังเหล็ก และการกัดกร่อนของเหล็กที่ฝังในคอนกรีตหลังแช่คอนกรีตในน้ำทะเลเป็นเวลา 2  3  5 และ 7 ปี  จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอไรด์ในคอนกรีตที่ตำแหน่งฝังเหล็กกับการกัดกร่อนเริ่มต้นของเหล็กที่ฝังในคอนกรีต สามารถวิเคราะห์หาระดับคลอไรด์วิกฤติในแต่ละส่วนผสมได้ ผลการวิจัยพบว่า ระดับคลอไรด์วิกฤติในคอนกรีตมีค่าลดลงเมื่อปริมาณการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าแกลบเปลือกไม้สูงขึ้นและมีค่าลดลงตามอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่มากขึ้น คำสำคัญ: เถ้าแกลบเปลือกไม้    คลอไรด์วิกฤติ    อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน   สิ่งแวดล้อมทะเล   จังหวัดสงขลา 

Downloads

Published

2015-08-26

Issue

Section

Research Article