การศึกษาเบื้องต้นของความคลาดเคลื่อนของข้อมูลความลึกในอ่าวไทย

Authors

  • เผชิญโชค จินตเศรณี

Abstract

บทคัดย่อทำการศึกษาเบื้องต้นของความคลาดเคลื่อนข้อมูลความลึกพื้นมหาสมุทรทั่วไป ชนิด GEBCO30 arc-second (GEBCO30) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลการหยั่งน้ำของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ทำการศึกษา 2 พื้นที่ คือ บริเวณที่มีลักษณะพื้นทะเลค่อนข้างเรียบ (อ่าวปากพนังถึงแหลมคอกวาง) และบริเวณที่มีลักษณะพื้นทะเลขรุขระ (อ่าวตราดถึงเกาะกูด) พบว่าข้อมูลร้อยละ 64.50 ของพื้นที่ค่อนข้างเรียบ และร้อยละ 51.68 ของพื้นที่ค่อนข้างขรุขระ มีความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ บริเวณชายฝั่งทั้งสองบริเวณมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลมากกว่า ±2 เมตร โดยบริเวณชายฝั่งอ่าวตราดถึงเกาะกูดมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลสูงกว่าชายฝั่งอ่าวปากพนังถึงแหลมคอกวาง การศึกษาแสดงให้เห็นระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล ความลึกพื้นมหาสมุทรทั่วไปในบางบริเวณของอ่าวไทย และแสดงให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลความลึกพื้นมหาสมุทรทั่วไปในอ่าวไทยก่อนการนำไปใช้ประโยชน์คำสำคัญ : อ่าวไทย     GEBCO 30 arc-second     แผนที่พื้นมหาสมุทร

Downloads

Published

2015-08-26

Issue

Section

Research Article