ผลของความเค็มต่ออัตราการรอดตายและการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของ เพรียงทราย (Perinereis nuntia) Authors นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร Abstract บทคัดย่อ ศึกษาผลของความเค็มต่ออัตราการรอดตายและการควบคุมปริมาตร (Volume Regulation) ของเพรียงทราย (Perinereis nuntia) ที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 0.55±0.25 กรัม ความยาวเฉลี่ย 12.5±1.8 เซนติเมตร โดยนำเพรียงทรายมาปรับสภาพที่ระดับความเค็มน้ำ 35 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นนำมาทดลองหาอัตราการรอดตายและความสามารถในการควบคุมปริมาตรที่ระดับความเค็ม 0, 10, 20, 35 และ 40 ในช่วงเวลา 0, 1, 3, 6, 9, 12, 24, 48 และ 96 ชั่วโมง โดยการวัดน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา จากการศึกษาที่ระดับความเค็ม 0 มีอัตราการรอดตายต่ำสุดเมื่อเทียบกับอัตราการรอดตายที่ระดับระดับความเค็มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนอัตราการรอดตายในระดับความเค็มช่วง 10, 20, 35 และ 40 มีอัตราการรอดตายที่ไม่แตกต่างกัน (P> 0.05) สำหรับความสามารถในการควบคุมปริมาตรพบว่าที่ระดับความเค็ม 0 น้ำหนักของเพรียงทรายมีค่ามากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักที่ระดับความเค็มอื่นๆ โดยมีน้ำหนัก 1.1±0.35 กรัม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับน้ำหนักของเพรียงทรายที่ระดับความเค็ม 10, 20, 35 และ 40 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.8± 0.47, 0.8±0.51, 0.5±0.24 และ 0.4±0.05 กรัมตามลำดับ คำสำคัญ : เพรียงทราย อัตราการรอดตาย ความเค็ม การเปลี่ยนแปลงปริมาตร Downloads PDF Published 2015-08-26 Issue Vol. 18 No. 2 (2013) Section Research Article