การสำรวจพรรณไม้ในป่าชายเลนและการประยุกต์ใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากดาวเทียม เพื่อการสร้างแผนที่ป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

Authors

  • ณัฐ สุขอึ้ง

Abstract

บทคัดย่อ            จากการที่พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยถูกบุกรุกเป็นจำนวนมากทำให้ต้องมีการฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างเร่งด่วนซึ่งต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีความถูกต้องสูง จึงเป็นที่มาของการวิจัยในครั้งนี้ที่มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจพันธุ์ไม้ป่าชายเลนและประยุกต์ใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากดาวเทียมเพื่อผลิตแผนที่กลุ่มพืชพรรณป่าชายเลนเพื่อการอนุรักษ์ พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำเวฬุภายใต้ความดูแลของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ถูกเลือกเป็นพื้นที่ศึกษาเนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพสูง อย่างไรก็ตามยังมีพื้นที่ป่าชายเลนที่ต้องการการฟื้นฟูเป็นจำนวนมาก พืชพรรณ   ป่าชายเลนที่ได้จากการสำรวจมีทั้งหมด 26 ชนิด และจากการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต พบว่าสามารถจำแนกพืชพรรณป่าชายเลนได้ 4 ชนิด ได้แก่ ไม้โกงกางใบเล็ก ไม้ตาตุ่มทะเล ไม้ฝาดดอกขาว และไม้ฝาดดอกแดง ความถูกต้องรวมของผลการจำแนกข้อมูลมีเพียงร้อยละ 34 เกิดจากการแทรกตัวของไม้โกงกางใบเล็กที่ขึ้นกระจายครอบคลุมพื้นที่ศึกษา การผสมกันของค่าการสะท้อนของไม้โกงกางใบเล็กและไม้ชนิดพันธุ์อื่นเป็นเหตุให้ความถูกต้องของผลการจำแนกมีค่าต่ำ แนวทางการปรับปรุงอาจทำได้โดยการใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีหลายช่วงคลื่นพิเศษ (Hyperspectral band) หรือข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีหลายช่วงคลื่น (Multispectral band) แต่มีรายละเอียดเชิงพื้นที่ที่สูงกว่าโดยพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยงข้องร่วมด้วย คำสำคัญ : การสำรวจระยะไกล   ดาวเทียมไทยโชต   การจำแนกพืชพรรณป่าชายเลน   จังหวัดจันทบุรี

Downloads

Published

2015-08-25

Issue

Section

Research Article