กายวิภาคเปรียบเทียบและสมบัติเนื้อไม้วงศ์ถั่วสกุล Albizia 2 ชนิด ในประเทศไทย

Authors

  • เบญจวรรณ ชิวปรีชา
  • ฉัตรชัย เงินแสงสรวย
  • ประศาสตร์ เกื้อมณี

Abstract

ไม้ต้นวงศ์ถั่ว เจริญแพร่กระจายไปทั่วประเทศไทย ตลอดจนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หลายชนิดเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะทางกายวิภาคและสมบัติทางฟิสิกส์และทางกลของไม้พื้นเมืองของไทยวงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กางขี้มอด (Albizia odoratissima (L.f.) Benth.) และถ่อน (Albizia procera (Roxb.) Benth.) ที่เก็บตัวอย่างมาจากจังหวัดนครราชสีมา สระแก้ว และชลบุรี  จัดเตรียมตัวอย่างด้วยอุปกรณ์ฝานชิ้นไม้           และกรรมวิธีการแช่ยุ่ย ศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด  และทดสอบไม้          ที่ความชื้น 12 % หาความหนาแน่น และสมบัติทางกล ลักษณะเด่นประจำสกุลของไม้ Albizia เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแกมแดง      เสี้ยนสน ค่อนข้างเป็นมันวาว วงปีไม่ชัด เวสเซลแบบกระจาย พบทั้งเวสเซล เดี่ยวและแฝด บนผนังเวสเซลพบรอยเว้ามีขอบยื่น เรียงสลับ พาราเทรคีลพาเรงคิมาแบบปีกต่อ พาเรงคิมาตามยาวพบผลึกรูปปริซึม ภายในเรย์เซลล์พบสารสะสม ลักษณะ              ที่แตกต่างของไม้ทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ การจับกลุ่มของเวสเซล และจำนวนแถวของเรย์ ความหนาแน่นของกางขี้มอดและถ่อนมีค่า 0.69 และ 0.66  กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การแตกหักของกางขี้มอดและถ่อนมีค่า 101.9 และ 143.5 เมกะปาสคาล สัมประสิทธิ์ยืดหยุ่นของกางขี้มอดและถ่อนมีค่า 7,645.3 และ 6,073.3  เมกะปาสคาล แรงอัดขนานเสี้ยนกางขี้มอดและถ่อนมีค่า 173.10 และ 99.63  เมกะปาสคาล แรงอัดตั้งฉากเสี้ยนกางขี้มอดและถ่อนมีค่า 80.41 และ 48.54 เมกะปาสคาล จากผลการทดสอบพบว่าไม้ทั้ง 2 ชนิด จัดอยู่ในชั้นคุณภาพ B ตามมาตรฐานการจัดชั้นความแข็งแรงของเนื้อไม้           โดยกรมป่าไม้

Downloads

Published

2015-12-25

Issue

Section

Research Article