การบำบัดสารประกอบไนโตรเจนด้วยถังปฏิกรณ์ผสมผสานไนทริฟิเคชัน-ดีไนทริฟิเคชัน Authors เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินทร์ Department of Environmental Science Faculty of Science and Technology Rambhai Barni Rajabhat University เพ็ญพิชชา พินิจธนภาคย์ สรวิศ เผ่าทองศุข วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี Abstract งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของการนำตัวกรองชีวภาพเพื่อใช้ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน โดยผ่านปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างการเกิดกระบวนการไนทริฟิเคชันและดีไนทริฟิเคชันภายในถังปฏิกรณ์ใบเดียวกัน เพื่อการประยุกต์ใช้ในระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบปิด ซึ่งตัวกรองชีวภาพที่ใช้ในการบำบัดผ่านกระบวนการไนทริฟิเคชันได้แก่ วัสดุเส้นใยไบโอคอร์ตและหินพัมมิสบด ส่วนตัวกรองชีวภาพที่ใช้บำบัดผ่านกระบวนการดีไนทริฟิเคชันคือหินพัมมิสบด โดยการทดลองเริ่มจากการตรวจวัดอัตราการบำบัดไนทริฟิเคชันและดีไนทริฟิเคชันของตัวกรองชีวภาพแต่ละชนิด หลังจากนั้นนำตัวกรองชีวภาพ ที่เหมาะสมบรรจุลงในถังปฏิกรณ์ใบเดียวกัน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน ซึ่งถังปฏิกรณ์ชุดควบคุมและชุดทดลองทุกถังจะบรรจุหินพัมมิสบดหนา 5 ซม. แต่ถังปฏิกรณ์ชุดทดลองจะเพิ่มการบรรจุเส้นใยไบโอคอร์ตยาว 1 ม.ร่วมกับหินพัมมิสบด โดยการเปรียบเทียบการบำบัดสารแอมโมเนียและไนเทรต ระหว่างสภาวะที่เติมและไม่เติมเมทานอล ลงในชั้นนํ้าเสียสังเคราะห์ ที่อัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตไนโตรเจนเท่ากับ 5:1 ผลการทดลองพบว่าถังปฏิกรณ์ทุกชุดการทดลองสามารถบำบัดแอมโมเนียได้อย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการไนทริฟิเคชัน โดยไม่พบการสะสมของไนไทรต์รวมทั้งการเติมเมทานอลช่วยเร่งการเกิดกระบวนการดีไนทริฟิเคชันได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งไม่มีผลยับยั้งการเกิดกระบวนการไนทริฟิเคภายใต้สภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนละลายนํ้าเหมาะสม นั่นคือความเป็นไปได้ที่จะนำถังปฏิกรณ์ผสมผสานไนทริฟิเคชัน–ดีไนทริฟิเคชันสู่การประยุกต์ใช้ในการบำบัดไนโตรเจนภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าหมุนเวียนแบบปิด Downloads PDF Published 2015-12-25 Issue Vol. 20 No. 2 (2015) Section Research Article