ความหลากชนิดและความชุกชุมของนกในเขตพื้นที่เกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • สาลีนี ขจรพิสิฐศักดิ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา
  • ศิริวรรณ เอี่ยมประเสริฐ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา

Abstract

การศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของนกในเขตพื้นที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี  ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยวิธีการสำรวจตามจุดกำหนด มีความถี่ในการสำรวจ 1 เดือน          ต่อครั้ง พบนกจำนวนทั้งสิ้น 70 ชนิด จาก 33 วงศ์ 8 อันดับ โดยอันดับนกจับคอนมีจำนวนชนิดสูงที่สุด (36 ชนิด) รองลงมา  คือ อันดับนกกระยาง (17 ชนิด) อันดับนกกาเหว่า (4 ชนิด) อันดับนกเขา (4 ชนิด) และอันดับนกตะขาบ (4 ชนิด) ตามลำดับ สถานภาพตามฤดูกาลแบ่งเป็นนกประจำถิ่น 40 ชนิด นกอพยพ 27 ชนิด และนกอพยพผ่าน 3 ชนิด ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากชนิดของนกในเขตพื้นที่เกาะสีชังตลอดทั้งปีมีค่าเท่ากับ 2.44  โดยเดือนตุลาคมมีค่าดัชนีความหลากชนิดสูงที่สุดขณะที่เดือนพฤษภาคมมีค่าดัชนีความหลากชนิดของนกต่ำที่สุด (H’: 2.82 vs. 2.17) สามารถจัดแบ่งระดับความถี่ของการปรากฏออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ นกที่พบบ่อยมาก (16 ชนิด) นกที่พบบ่อย (4 ชนิด) นกที่พบปานกลาง (18 ชนิด) นกที่พบได้น้อย           (12 ชนิด) และนกที่พบได้ยาก (20 ชนิด) เมื่อวิเคราะห์ค่าความชุกชุมสัมพัทธ์พบว่า นกพิราบป่า (Columba livia) เป็นนกที่พบปริมาณมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) นกปรอดหน้านวล (Pycnonotus goiavier) นกกระจอกบ้าน (Passer montanus) และนกนางแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) นอกจากนี้ ยังพบนกที่อยู่ในสถานภาพ                  มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์และอยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม จำนวน 2 และ 4 ชนิด ตามลำดับ จากผลการศึกษาทั้งหมด              แสดงให้เห็นว่าเกาะสีชังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของนกได้หลากชนิด เนื่องจากเกาะสีชังสามารถ            ให้แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งพัก และแหล่งอาหารทั้งของนกประจำถิ่นและนกอพยพ

Downloads

Published

2015-12-25

Issue

Section

Research Article