ไวเทลโลเจนิน : ตัวชี้วัดทางชีวภาพสำหรับการปนเปื้อนสารรบกวนการทำงาน ของต่อมไร้ท่อในแหล่งน้ำ

Authors

  • พอจิต นันทนาวัฒน์ Department of biotechnology, Faculty of Science

Abstract

ไวเทลโลเจนิน (Vitellogenin, VTG)  เป็นโปรตีนในพลาสมาของปลาที่ออกลูกเป็นไข่  สังเคราะห์ขึ้นในตับของปลาเพศเมียภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนเอสโตรเจน  ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพในการรับสัมผัสต่อสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (Endocrine Disrupting Chemicals, EDCs) ในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในปลาเพศผู้และปลาวัยอ่อน  เนื่องจากเมื่อปลารับสัมผัสกับสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อจะถูกชักนำให้สร้างไวเทลโลเจนิน เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในปลาเพศเมีย จึงนิยมใช้ผลการชักนำให้เกิดไวเทลโลเจนินในปลาเพศผู้หรือปลาวัยอ่อนนี้ มาบ่งชี้ถึงสภาวะการปนเปื้อนสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในแหล่งน้ำได้   การตรวจสอบไวเทลโลเจนินในพลาสมาปลาทำได้โดยการวัดไวเทลโลเจนินโดยตรง โดยเทคนิคทางแอนติบอดี เช่น Western blot และ ELISA เป็นต้น  หรือตรวจสอบทางอ้อมจากไลโปไกลโคฟอสโฟโปรตีนของไวเทลโลเจนิน โดยเทคนิคอัลคาไลน์เลบายล์ฟอสฟอรัส หรือการย้อมสีใน Native-PAGE นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบระดับการแสดงออกของยีนที่ควบคุมการสร้างไวเทลโลเจนินในเซลล์ตับ ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลต่างๆ  ซึ่งทำให้ทราบถึงสภาวะการปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มนี้และประเมินถึงผลกระทบที่พบในสัตว์น้ำต่อไป

Downloads

Published

2015-12-25

Issue

Section

Scientific Article