การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีบอกซ์ - เจนกินส์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังแบบคูณของวินเทอร์ สำหรับการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกถุงมือยาง

Authors

  • วรางคณา กีรติวิบูลย์ Department of Mathematics and Statistics, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung Campus

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ 2 วิธี ได้แก่ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังแบบคูณของวินเทอร์ สำหรับการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกถุงมือยาง โดยใช้อนุกรมเวลารายเดือนจากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย  ตั้งแต่เดือนมกราคม  2538  ถึงเดือนมกราคม 2558 จำนวน 241 ค่า ซึ่งข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลชุดที่ 1 คือ มูลค่าการส่งออกถุงมือยางตั้งแต่เดือนมกราคม 2538  ถึงเดือนมิถุนายน 2557 จำนวน 234 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ และชุดที่ 2 คือ ข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 จำนวน  7 ค่า  สำหรับการคัดเลือกวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมด้วยเกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย  และเกณฑ์              รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า  วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังแบบ              คูณของวินเทอร์มีความเหมาะสมกับอนุกรมเวลาชุดนี้มากกว่าวิธีบอกซ์-เจนกินส์ ซึ่งมีตัวแบบพยากรณ์เป็น    เมื่อ m แทนจำนวนเดือนที่ต้องการพยากรณ์ไปข้างหน้า โดยมีค่าเริ่มต้น คือ                 เดือนกรกฎาคม 2557 (m = 1) และ  แทนค่าดัชนีฤดูกาล คำสำคัญ  :   ถุงมือยาง     วิธีบอกซ์-เจนกินส์     วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลัง   เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน                     สัมบูรณ์เฉลี่ย    

Downloads

Published

2015-08-11

Issue

Section

Research Article