การตรึงเซลล์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ด้วยชานอ้อยเพื่อการผลิตเอทานอลเชื้อเพลิง Authors ชุติมา แก้วกระจาย Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University พัชรี สินธุนาวา Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University Abstract การผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ST-541 ด้วยวิธีตรึงเซลล์และวิธี เซลล์อิสระในอาหารกากน้ำตาลที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลรีดิวซ์เริ่มต้น 160 กรัมต่อลิตร ที่ประกอบด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต 0.5 กรัมต่อลิตร โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.5 กรัมต่อลิตร ยีสต์เอ็กแทรกซ์ 1.5 กรัมต่อลิตร ปรับพีเอชของอาหารเริ่มต้นเท่ากับ 5.0 พบว่าการตรึงเซลล์ยีสต์ด้วยชานอ้อยให้ปริมาณเอทานอล[a1] สูงสุดเท่ากับ 72 กรัมต่อลิตร ที่เวลา 72 ชั่วโมง มีค่าอัตราการผลิตเอทานอลเท่ากับ 1.00 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และมีค่าผลผลิตการหมักเท่ากับ 88.04 เปอร์เซ็นต์ของค่า ทางทฤษฎี ส่วนการหมักเอทานอลด้วยเซลล์อิสระให้ค่าเอทานอลใกล้เคียงกับวิธีตรึงเซลล์ด้วยชานอ้อย ให้ค่าเอทานอลเท่ากับ 71 กรัมต่อลิตร ที่เวลา 72 ชั่วโมง มีค่าอัตราการผลิตเอทานอลเท่ากับ 0.99 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และมีค่าผลผลิตการหมักเท่ากับ 86.82 เปอร์เซ็นต์ของค่าทางทฤษฎี ในขณะที่วิธีตรึงเซลล์ด้วยแคลเซียมอัลจิเนทให้ค่าเอทานอลน้อยกว่าสองวิธีข้างต้นคือให้เอทานอลเท่ากับ 67 กรัมต่อลิตร ที่เวลา 72 ชั่วโมง ให้ค่าอัตราการผลิตเอทานอลเท่ากับ 0.93 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และมีค่าผลผลิตการหมักเท่ากับ 81.93 เปอร์เซ็นต์ของค่าทางทฤษฎี เมื่อนำวิธีการตรึงเซลล์ยีสต์ด้วยชานอ้อยไปศึกษา การหมักแบบรีพิท-แบตช์ พบว่าการหมักรอบแรกให้เอทานอลสูงสุดโดยให้เอทานอลเท่ากับ 73 กรัมต่อลิตร การหมักรอบที่สองให้เอทานอล 67 กรัมต่อลิตร และการหมักในรอบที่สามให้ปริมาณเอทานอล [a2] 63 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ เห็นได้ว่าการตรึง เซลล์ยีสต์ด้วยชานอ้อย นอกจากยีสต์หมักเอทานอลได้สูงแล้วยังสามารถนำเซลล์ยีสต์กลับมาใช้หมักได้ใหม่อันเป็นการลดระยะเวลาการเตรียมเซลล์ยีสต์มีผลให้ต้นทุนการผลิตเอทานอลลดลง Author Biographies ชุติมา แก้วกระจาย, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University Department of Science, Major Microbiology พัชรี สินธุนาวา, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University Department of Science, Major Microbiology Downloads PDF Published 2015-12-25 Issue Vol. 20 No. 2 (2015) Section Research Article