แบบจำลองค่าสุดขีดปริมาณน้ำฝนสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย Authors ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ Department of Mathematic, Faculty of Science, Mahasarakham University มาลา ศิริบูรณ์ อรุณ แก้วมั่น Department of Mathematic, Faculty of Science, Mahasarakham University Abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายเดือน และรายปีด้วยการแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไปในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายเดือนภายใต้กระบวนการคงที่การแจกแจงฟรีเซตเป็นการแจกแจงที่เหมาะสมเกือบทุกสถานี และภายใต้กระบวนการไม่คงที่ มีเพียงสถานีอุตุนิยมวิทยาเลยสถานีเดียวที่มีการแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป เมื่อพารามิเตอร์บอกตำแหน่งเปลี่ยนแปลงในเชิงเส้นตรงเป็นรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับข้อมูลปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายปีมีเพียง 3 สถานีที่มีความเหมาะสม ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถานีอุตุนิยมวิทยาหนองคาย สถานีอุตุนิยมวิทยาอุดรธานี และสถานีอากาศเกษตรนครพนม ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้กระบวนการคงที่ การแจกแจงกัมเบลเป็นการแจกแจงที่เหมาะสมที่สุด และภายใต้กระบวนการไม่คงที่ พบว่า การแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป เมื่อพารามิเตอร์บอกตำแหน่งเปลี่ยนแปลงในเชิงเส้นตรงมีความเหมาะสมสำหรับสถานีอุตุนิยมวิทยาหนองคาย และสถานีอากาศเกษตรนครพนม และเป็นที่น่าสังเกตว่า สถานีอากาศเกษตรนครพนม และ สถานีอุตุนิยมวิทยาอุดรธานี มีระดับการเกิดซ้ำสูงกว่าสถานีอื่น ๆ ในทุก ๆ รอบปีการเกิดซ้ำ ทั้งข้อมูลรายเดือน และรายปี ดังนั้นในการป้องกันอุทกภัยควรให้ความสำคัญกับสถานีดังกล่าวมากกว่าสถานีอื่นคำสำคัญ : การแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป ระดับการเกิดซ้ำ รอบปีการเกิดซ้ำ Author Biographies ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ ปิยภัทร บุษบาบดินทร์, Department of Mathematic, Faculty of Science, Mahasarakham University Applied Statistics อรุณ แก้วมั่น, Department of Mathematic, Faculty of Science, Mahasarakham University Applied Statistics Downloads PDF Published 2015-08-11 Issue Vol. 20 No. 1 (2015) Section Research Article