การประเมินความเสี่ยงคุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำดื่มต่อสุขภาพและความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ในการจัดทำข้อเสนอแนะโครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำแม่ป๊อก ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

Authors

  • จอมจันทร์ นทีวัฒนา University of Phayao
  • จินตพัฒน์ นทีวัฒนา
  • เพชร เพ็งชัย
  • ไมตรี สุทธจิตต์
  • วิชัย เทียนถาวร

Abstract

การประเมินคุณภาพน้ำดื่มและน้ำเพื่อการเกษตรของโครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำแม่ป๊อก ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงคุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำดื่ม โดยประเมิน                 พารามิเตอร์ทางเคมีกายภาพ และความเข้มข้นของธาตุหลัก ธาตุปริมาณน้อย และโลหะหนักที่มีต่อสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงตามมาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำและจัดทำข้อเสนอแนะ             ผลการสำรวจพบว่า ค่าเคมีกายภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่ม ผลวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุพบว่า อะลูมิเนียม              และตะกั่วบริเวณปลายน้ำมีความเข้มข้น 187.90 และ 21.87 µg L-1 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มขององค์การ   อนามัยโลก การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพพบว่า ธาตุที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยมีค่าดัชนีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่า 1 ประกอบด้วย สารหนู แทลเลียม และวาเนเดียมทั้งบริเวณต้นน้ำและปลายน้ำ สำหรับกลุ่มผู้บริโภค                     ที่เป็นเด็ก รวมทั้งระดับความเข้มข้นของสารหนูในน้ำมีค่าสูงเกินกว่าระดับความเสี่ยงมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ของการเกิดมะเร็งคือ สูงกว่า1 ใน 10,000  ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก แต่ไม่พบความเสี่ยงจากโลหะหนักเมื่อประเมินด้วย             ดัชนีการปนเปื้อนโลหะหนัก  ดัชนีมลพิษจากโลหะหนัก และดัชนีการประเมินค่าโลหะหนัก อย่างไรก็ตาม                              น้ำเพื่อการบริโภคควรผ่านการบำบัด  โดยวิธีการต่างๆ เช่น การตกตะกอน การกรอง หรือการใช้ระบบรีเวอร์สออสโมซิส เพื่อความปลอดภัย และควรทำการเฝ้าระวังไม่ให้แหล่งน้ำมีการปนเปื้อนจากมลสารในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น   นอกจากนี้คุณภาพน้ำสำหรับการเกษตรด้านเคมีกายภาพ และความเข้มข้นของธาตุต่างๆ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำ                        เพื่อการชลประทานขององค์การอาหาร  และเกษตรแห่งสหประชาติ                                                                

Author Biography

จอมจันทร์ นทีวัฒนา, University of Phayao

Department

Downloads

Published

2015-12-25

Issue

Section

Research Article