การพัฒนาตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบรูปประกอบพาราโบลา

Authors

  • สรวิศ สอนสารี วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบรูปประกอบพาราโบลา โดยการออกแบบสร้าง และทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศชนิดฮีทไปป์ร่วมกับแผ่นสะท้อนรูปประกอบพาราโบลาทดสอบตามมาตรฐาน ISO 9806 - 1 พบว่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์มีค่าเท่ากับ 78% สัมประสิทธิ์การสูญเสียความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ a1และ a2 มีค่าเท่ากับ 3.55 และ 0.0600 W/m2-oC ตามลำดับ ผลที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นำมาหาค่าพลังงานที่ผลิตได้ โดยใช้ข้อมูลปริมาณรังสีอาทิตย์ และอุณหภูมิแวดล้อมของ จ.พิษณุโลก พบว่า พลังงานที่ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ฯ ผลิตได้ในแต่ละเดือนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 113.28 kWh/m2 หรือเท่ากับ 1,359.32 kWh/m2 ต่อปี และเมื่อวิเคราะห์ค่าพลังงานที่ผลิตได้เปรียบเทียบกับตัวเก็บรังสีอาทิตย์อื่นๆ ที่ทางวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร ทดสอบ พบว่า ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศชนิดฮีทไปป์ร่วมกับแผ่นสะท้อนรูปประกอบพาราโบลาสามารถผลิตพลังงานรายปีได้สูงกว่า 1,200 kWh/m2 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ที่มีความสามารถในการผลิตพลังงานความร้อนได้สูง คำสำคัญ  :  พลังงานแสงอาทิตย์  ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบรูปประกอบพาราโบลา  ประสิทธิภาพเชิงความร้อน  มาตรฐาน ISO 9806 – 1

Downloads

Published

2014-11-14

Issue

Section

Research Article