ฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรบางชนิดในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี

Authors

  • Klaokwan Srisook ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • Sawinee Seemakhan
  • Pariyapha Ketkool
  • Pornsuda Kankaew
  • Ekarath Srisook
  • Karnjana Hrimpeng
  • Benjawon Chiwapreecha
  • Kumron Leadprothom

Abstract

การศึกษานี้ทำการประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบ และวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดเอทานอล และส่วนสกัดน้ำของพืชสมุนไพร 15 ชนิด จากโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี การประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบทำโดยวิเคราะห์การยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) และพรอสตาแกลนดิน E2 (prostaglandin E2)ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาไรด์ (lipopolysaccharide) ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์แมคโครฟาจโดยวิธี MTT และตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมโดยวิธี Folin-Ciocalteuผลการศึกษาพบว่าส่วนสกัดของพืชสมุนไพรที่ศึกษามีฤทธิ์ต้านอักเสบ ส่วนสกัดใบสาบแร้งสาบกาและเปลือกพังแหรใหญ่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบที่สูง โดยไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์นอกจากนี้พบว่าความสามารถในการต้านอักเสบและปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมมีความสัมพันธ์ที่ต่ำ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าใบสาบแร้งสาบกาและเปลือกพังแหรใหญ่เป็นแหล่งของสารต้านอักเสบตามธรรมชาติคำสำคัญ:ฤทธิ์ต้านอักเสบ, ไนตริกออกไซด์, พรอสตาแกลนดิน E2, สารประกอบฟีนอล, พืชสมุนไพร

Downloads

Published

2014-06-06

Issue

Section

Research Article