การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของตู้ฟักไข่แบบขดลวดความร้อนและแบบเทอร์โมอิเล็กตริก
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำอุปกรณ์ทำความร้อนแบบใหม่คือแผ่น “เทอร์โมอิเล็กตริก” มาแทนขดลวดความร้อนที่ใช้กับตู้ฟักไข่ที่มีการจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด จากการทดสอบการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า และการเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงความร้อนในเทอมของอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) ผลการทดสอบพบว่า การควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ฟักไข่แบบเทอร์โมอิเล็กตริกสามารถทำอุณหภูมิอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการฟักไข่และมีการแกว่งของอุณหภูมิอยู่ในช่วงแคบๆ เมื่อเทียบกับตู้ฟักไข่แบบขดลวดความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่ามาตรฐานการฟักไข่และมีการแกว่งของอุณหภูมิในช่วงที่กว้างมากกว่า ตู้ฟักไข่แบบเทอร์โมอิเล็กตริกสามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ดีกว่าแบบขดลวดความร้อน ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของตู้ฟักไข่แบบเทอร์โมอิเล็กตริกนั้นน้อยกว่าแบบขดลวดความร้อน แต่ตู้ฟักไข่แบบเทอร์โมอิเล็กตริกให้อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานที่น้อยกว่าตู้ฟักไข่แบบขดลวดความร้อนReferences
1. สุภาพร บางใบ, นายปิยพงศ์ บางใบ, นายพิพัฒน์ ชนาเทพาพร, นายกิตติธัช แก้วไขแสง และสิบเอกประจวบ สมทางดี. (2551). การทำการเกษตรแบบพอเพียงภายใต้การอณุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่ยั่งยืนสู่ชุมชนท้องถิ่น ของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์
2. สงคราม บุตรดา, สุนทร บุญตามทัน. (2541). เครื่องอำนวยความสะดวกในการเลี้ยงไก่. รายงานการวิจัย วิชางานวิจัยและพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์, สถาบันราชภัฏพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
3. ณัฐวัฒน์ ชัยศัตรา และคณะ, (2548). การนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตจากมันสำปะหลังไปใช้ประโยชน์. รายงานโครงการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
4. พงศ์สวัสดิ์ สวัสดิภาพ. (2546). การพัฒนาเครื่องฟักไข่โดยใช้เทอร์โมอิเล็กตริกในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
5. วีระชัย สุริวัลย์. (2546). การปรับปรุงระบบทำความเย็นและการผลิตไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงสุกร. วิทยานิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
6. วีระชัย สุริวัลย์. (2546). การปรับปรุงระบบทำความเย็นและการผลิตไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงสุกร. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., สาขาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
2. สงคราม บุตรดา, สุนทร บุญตามทัน. (2541). เครื่องอำนวยความสะดวกในการเลี้ยงไก่. รายงานการวิจัย วิชางานวิจัยและพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์, สถาบันราชภัฏพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
3. ณัฐวัฒน์ ชัยศัตรา และคณะ, (2548). การนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตจากมันสำปะหลังไปใช้ประโยชน์. รายงานโครงการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
4. พงศ์สวัสดิ์ สวัสดิภาพ. (2546). การพัฒนาเครื่องฟักไข่โดยใช้เทอร์โมอิเล็กตริกในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
5. วีระชัย สุริวัลย์. (2546). การปรับปรุงระบบทำความเย็นและการผลิตไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงสุกร. วิทยานิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
6. วีระชัย สุริวัลย์. (2546). การปรับปรุงระบบทำความเย็นและการผลิตไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงสุกร. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., สาขาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.