เทคนิค Empirical Orthogonal Function (EOF) กับการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้านสมุทรศาสตร์

Authors

  • อัศมน ลิ่มสกุล

Abstract

บทคัดย่อ                บทความวิชาการฉบับนี้ ได้ทบทวนแนวคิดและวิธีการเบื้องต้นของเทคนิค EOF ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติเชิงพหุที่ได้นำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์ความแปรปรวน พลวัตรและพฤติกรรมเชิงกายภาพของระบบภูมิอากาศและสมุทรศาสตร์ทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา เทคนิค EOF นับเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางสถิติที่มีประโยชน์หลายด้าน เช่น ลดมิติของจำนวนตัวแปรในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ อธิบายและเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลตรวจวัดและแบบจำลอง สกัดโหมดที่โดดเด่นของความแปรปรวนในฐานข้อมูลเพื่อใช้แปลผลในเชิงกายภาพ และสังเคราะห์ชุดตัวแปรใหม่เพื่อเป็นตัวแทนฐานข้อมูลเดิมที่มีขนาดใหญ่ เทคนิค EOF ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงและอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของระบบภูมิอากาศและสมุทรศาสตร์ทั้งที่มีลักษณะทั้ง Stationary และ Propagating ในสเกลต่าง ๆ ทั้งในระดับโลก ภูมิภาคและท้องถิ่น ให้มีความครอบคลุมและถูกต้องชัดเจนมากขึ้น ในปัจจุบันนี้  EOF ถูกจัดเป็นเครื่องมือสถิติพื้นฐานที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านภูมิอากาศ อุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์คำสำคัญ  :  สถิติเชิงพหุ      ความแปรปรวนเชิงพื้นที่และเวลา     ภูมิอากาศ มหาสมุทร

Downloads

Published

2015-08-26

Issue

Section

Scientific Article