การผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพ

Authors

  • สุจยา ฤทธิศร

Abstract

บทคัดย่อ              จากการศึกษาการผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพ โดยการใช้เชื้อราTrichoderma viride T. harzianum และ T. hamatum  ชุดการทดลองละเชื้อ ใช้ปริมาณเชื้อราที่แตกต่างกัน เพาะเลี้ยงนาน 3  4 และ 5 สัปดาห์ พบว่าปริมาณเชื้อรา T. viride  ที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่า  Kappa  number  และการย่อยลิกนิน แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง ส่วน T. harzianum และ T. hamatum  ปริมาณเชื้อและระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อค่า Kappa  number  และการย่อยลิกนิน เมื่อนำชุดการทดลอง T. viride  T. harzianum  และ T. hamatum ที่เพาะเลี้ยงนาน 5 สัปดาห์ มาเปรียบเทียบค่า  Kappa   number  และค่า  Selection  factor  พบว่า ชุดการทดลอง T. viride  มีค่า Kappa   number น้อยที่สุด  มีค่า Selection  factor สูงที่สุด จากการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. viride  ฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 0  8  10  12  14  และ 16  มีค่า  Kappa  number  น้อยกว่าเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. harzianum  และ T. hamatum สำหรับปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหมาะสมในการฟอกเยื่อกระดาษที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. viride T. harzianum และ T. hamatum คือ ร้อยละ 8  เมื่อนำกระดาษที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. viride T. harzianum และ T. hamatum มาเปรียบเทียบความขาวสว่าง  ความต้านทานแรงดันทะลุ  ความต้านทานแรงฉีกขาด และความหนา พบว่า T. viride มีความเหมาะสมที่สุดในการนำมาผลิตกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพคำสำคัญ : ผลิตกระดาษด้วยวิธีทางชีวภาพ      ราย่อยลิกนิน    เยื่อจากกล้วยน้ำว้า

Downloads

Published

2015-08-26

Issue

Section

Research Article