การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียล ที่มีฤดูกาลอย่างง่าย และวิธีการพยากรณ์รวม สำหรับการพยากรณ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อเดือนในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • วรางคณา กีรติวิบูลย์

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย และวิธีการพยากรณ์รวมระหว่าง 2 วิธีข้างต้น สำหรับการพยากรณ์อุณหภูมิเฉลี่ยต่อเดือนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้อนุกรมเวลาอุณหภูมิตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงเดือนมกราคม 2556 จำนวน 121 ค่า จากเว็บไซต์ของบริษัท Própelin Consulting S.L.U. ประเทศสเปน ซึ่งมีสำนักงานใหญ่จัดตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิจากทั่วโลกที่ผ่านการรับรองความถูกต้องจากสถานทูตและสถานกงสุล ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 จำนวน 113 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ ชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึงเดือนมกราคม 2556 จำนวน 8 ค่า สำหรับการคัดเลือกวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมโดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า วิธีการพยากรณ์รวมมีความเหมาะสมกับอนุกรมเวลาชุดนี้มากที่สุด ซึ่งมีตัวแบบพยากรณ์ คือ เมื่อ  และ  แทนค่าพยากรณ์เดี่ยว ณ เวลา t จากวิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย ตามลำดับ คำสำคัญ:   อุณหภูมิเฉลี่ย   บอกซ์-เจนกินส์    การทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย     การพยากรณ์รวม    เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย

Downloads

Published

2015-08-26

Issue

Section

Research Article