การเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาและพื้นที่ของคุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน ในสองฤดูกาลช่วงปี พ.ศ. 2552

Authors

  • ธวัชชัย นาอุดม

Abstract

บทคัดย่อคณะผู้วิจัยทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนระหว่าง                 วันที่ 19 – 20 มีนาคม 2552 และวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2552 พบว่าค่าเฉลี่ยของตะกอนแขวนลอยทั้งหมดในน้ำ แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ฟอสเฟต และคลอโรฟิลล์-เอ มีความแตกต่างกันเชิงเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pearson’s Correlation Coefficient(r); p <0.05) การแพร่กระจายเชิงพื้นที่แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิ และออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าใกล้เคียงกันทั้งอ่าวทั้งในสองฤดูกาล ความเค็มในเดือนมีนาคม          มีค่าสูงทางด้านตะวันออก และค่อย ๆ ลดลงด้านฝั่งตะวันตกของอ่าว ตะกอนแขวนลอยทั้งหมดในน้ำมีค่าสูงและแพร่กระจายทั่วทั้งพื้นที่ในเดือนสิงหาคม แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ฟอสเฟต ซิลิเกต                        และคลอโรฟิลล์ – เอ ไม่แสดงแนวโน้มการแพร่กระจายเชิงพื้นที่ที่ชัดเจนทั้งสองฤดูกาล คุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้ายกเว้นแอมโมเนียที่มีค่าความเข้มข้นต่ำกว่าและมีความผันแปรค่อนข้างสูง สัดส่วนของเรดฟิลด์แสดงให้เห็นว่าสารอาหารกลุ่มไนโตรเจนเป็นปัจจัยจำกัดในการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช สอดคล้องกับไนเตรทที่ต่ำลงในเดือนมีนาคม ค่าแอมโมเนียที่สูงกลางอ่าวอาจเกิดจากการขับออกมาจากเซลล์หรือจากการตายของแพลงก์ตอนพืชที่เกิดการสะพรั่ง ค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำในเดือนสิงหาคม ได้แก่ ความเค็ม อุณหภูมิ แอมโมเนีย ตะกอนแขวนลอยทั้งหมดในน้ำ และออกซิเจนละลายน้ำมีความแตกต่างกันตามความลึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05)  ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งชั้นน้ำในอ่าวไทยตอนบน ในขณะที่มีเพียงอุณหภูมิเท่านั้นที่มีความแตกต่างตามความลึกในเดือนมีนาคม ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p >0.05) ระหว่างค่าคลอโรฟิลล์-เอ กับคุณภาพน้ำอื่น ๆ คำสำคัญ: คุณภาพน้ำทะเล    สารอาหารกลุ่มไนโตรเจน    คลอโรฟิลล์-เอ    อ่าวไทย

Downloads

Published

2015-08-26

Issue

Section

Research Article