อิทธิพลความเย็นของพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลง ระดับอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์

Authors

  • ฐิติมา รุ่งรัตนาอุล

Abstract

บทคัดย่อ                        ศึกษาอิทธิพลความเย็น (Cooling Effect) ของพื้นที่สีเขียวต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง เลือกศึกษาพื้นที่สีเขียวสองแห่งที่มีขนาดแตกต่างกัน ได้แก่ สวนวงเวียนพหลฯ24 ขนาด 1.2 ไร่ และสวนป่าประชานิเวศน์ขนาด 10 ไร่ ระหว่างช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว นอกจากนี้ยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับความเข้มแสง ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิพื้นผิวลักษณะต่างๆ ผลการวิเคราะห์พบความสัมพันธ์เกิดขึ้นในเชิงบวก (Positive Correlation) กล่าวคือ ระดับความเข้มแสงแปรผันตรงกับระดับอุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิพื้นผิว ได้ผลการศึกษาในลักษณะเดียวกันในบริเวณที่โล่ง และบริเวณพื้นที่สีเขียวที่มีร่มเงาช่วยในการบดบังแสง สวนป่าประชานิเวศน์ซึ่งเป็นสวนขนาดใหญ่ จะพบระดับอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยต่ำกว่า และพบระดับความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงกว่าสวนวงเวียนพหลฯ24 บริเวณที่พบระดับอุณหภูมิอากาศต่ำ จะเป็นบริเวณพื้นที่ภายในสวนซึ่งประกอบไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม และต้นหญ้าปกคลุมพื้นดินที่มีอัตราการได้รับแสงต่ำ ส่วนบริเวณที่พบระดับอุณหภูมิอากาศสูง จะเป็นบริเวณพื้นที่ภายนอกสวนโดยรอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โล่งปราศจากต้นไม้ใหญ่บดบังแสงอาทิตย์ นอกจากนี้พื้นที่ทั้งสองยังพบอิทธิพลความเย็นของพื้นที่สีเขียวในระดับที่แตกต่างกัน ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศภายในบริเวณพื้นที่สีเขียวมีระดับต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก โดยสวนป่าประชานิเวศน์มีแนวโน้มในการเกิดอิทธิพลความเย็นที่ดีกว่าสวนวงเวียนพหลฯ24 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่สีเขียวมีความสามารถในการช่วยลดระดับอุณหภูมิอากาศในบริเวณใกล้เคียงได้ในระดับหนึ่งคำสำคัญ  :  ความชื้นสัมพัทธ์   ความเข้มแสง   พื้นที่สีเขียว   อิทธิพลความเย็น   อุณหภูมิอากาศ

Downloads

Published

2015-08-25

Issue

Section

Research Article