การสลายอะคริลาไมด์ด้วยแบคทีเรียผสมในระบบบำบัดน้ำเสียเอสบีอาร์ Authors ศิริประภา แจ้งกรณ์ Environmental Science Program, Faculty of Science, Burapha University, Chonburi 20131, Thailand จิตติมา เจริญพานิช Department of Biochemistry, Faculty of Science, Burapha University, Chonburi 20131, Thailand ธงชัย ศรีวิริยรัตน์ Department of Chemical Engineering, Faculty of Engineering, Burapha University, Chonburi 20131, Thailand Abstract อะคริลาไมด์ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้มีการปนเปื้อนอะคริลาไมด์ในน้ำเสียและต้องถูกบำบัดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้งเพราะอะคริลาไมด์และสารอนุพันธ์ของอะคริลาไมด์เป็นพิษและเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงประเมินการสลายอะคริลาไมด์ด้วยแบคทีเรียผสมในระบบบำบัดน้ำเสีย Sequencing Batch Reactor (SBR) จำนวน 2 ระบบ ระบบหนึ่งเป็นระบบควบคุมที่มีการป้อนน้ำเสียสังเคราะห์ที่ไม่มีอะคริลาไมด์ อีกระบบหนึ่งป้อนอะคริลาไมด์ร้อยละ 25 ของความเข้มข้นสารอินทรีย์ทั้งหมดบ่งชี้ด้วยความต้องการใช้ออกซิเจนทางเคมี (Chemical Oxygen Demand, COD) (~100 mg acrylamide/L) ทั้งนี้ น้ำเสียมีค่า COD ทั้งหมดเท่ากับ 400 mg COD/L ผลการทดลอง พบว่า แบคทีเรียผสมสามารถกำจัดอะคริลาไมด์ได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 10 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพการกำจัด COD เพียงร้อยละ 76.4 จากการสะสมของกรดอะคริลิค โดยมีแอมโมเนียมและกรดอะคริลิคจากการสลายอะคริลาไมด์สะสมเท่ากับ 68 และ 108 mg/L ตามลำดับ นอกจากนั้น ยังพบการสะสมของไนไตรท์และไนเตรทจากปฏิกิริยาไนตริฟิเคชั่น เท่ากับ 6.8 และ 19.1 mg N/L ตามลำดับ สรุปได้ว่า ระบบบำบัดน้ำเสียแอคติเวเต็ทสลัดจ์สามารถกำจัดอะคริลาไมด์ที่มีความเข้มข้นประมาณ 100 mg/L ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะจุลินทรีย์สามารถใช้อะคริลาไมด์เป็นแหล่งคาร์บอนได้ คำสำคัญ : อะคริลาไมด์ แบคทีเรียผสม แอคติเวเต็ทสลัดจ์ ระบบเอสบีอาร์ Downloads PDF Published 2015-08-11 Issue Vol. 20 No. 1 (2015) Section Research Article