ผลของสารสกัดเอธิลอะซิเตทจากต้นหญ้ายางต่อการหดตัวของลำไส้หนูขาว

Authors

  • นิรชา ยันเยี่ยม Department of Pharmacology, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110. Thailand
  • นิสิตา บำรุงวงศ์ Department of Pharmacology, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110. Thailand
  • สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ Department of Pharmacology, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110. Thailand

Abstract

ใบหญ้ายางนิยมใช้เป็นยาระบายในประเทศไทย    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบ             หญ้ายางต่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้เล็กและกลไกการออกฤทธิ์  โดยนำสารสกัดใบหญ้ายางสดด้วยเมธานอล ชั้นเอธิลอะซิเตทและชั้นน้ำที่ได้จากการสกัดด้วยเอธิลอะซิเตทมาศึกษาผลต่อการเคลื่อนที่ของลำไส้เล็กที่แยกออกจากร่างกายหนูทดลอง จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดเมธานอลและชั้นเอธิลอะซิเตทของใบหญ้ายางไม่เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กหนู ส่วนสารสกัดชั้นน้ำสามารถทำให้ลำไส้เล็กของหนูหดตัวเพิ่มขึ้นและแปรผันตามปริมาณของสารสกัดชั้นน้ำที่ใช้ ผลของสารสกัดต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กของหนูมีฤทธิ์คล้ายคลึงกับอะเซทธิลคลอรีน   ฮิสตามีน  และโพแทสเซียมคลอไรด์ และมีลักษณะขึ้นกับความเข้มข้นสาร นอกจากนี้ฤทธิ์ดังกล่าวถูกยับยั้งได้ด้วยอะโทรปีน และเวอราปามิล แต่ไม่ถูกยับยั้งด้วย             คลอเฟนิรามีน   จึงเป็นไปได้ที่การออกฤทธิ์ของสารสกัดใบหญ้ายางชั้นน้ำจากการสกัดด้วยเอธิลอะซิเตทต่อการหดตัวของลำไส้เล็กของหนูจะผ่านทางตัวรับมัสคารินิกและช่องทางเข้าเซลล์ของแคลเซียม การออกฤทธิ์ดังกล่าวจึงมีประโยชน์ในแง่            การใช้ใบหญ้ายางเป็นยาระบายคำสำคัญ  :  ต้นหญ้ายาง   ลำไส้   การหดตัว   ยาระบาย

Downloads

Published

2015-08-11

Issue

Section

Research Article