ฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอย และสารอนินทรีย์ละลายน้ำ บริเวณปากแม่น้ำระยองในช่วงฤดูแล้งและฤดูน้ำมาก ในปี พ.ศ. 2556

Authors

  • สุธิดา กาญอติเรกลาภ สุธิดา กาญอติเรกลาภ
  • อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
  • ศุภชัย ยืนยง
  • ธนกร คมใส
  • ณัฐนนท์ ต่ายเนาว์คง

Abstract

คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอยและสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำบริเวณปากแม่น้ำระยองในปี พ.ศ. 2556 ในระหว่างวันที่ 18 - 19 เมษายน (ฤดูแล้ง) และวันที่ 20 - 21 ตุลาคม (ฤดูน้ำมาก) ฟลักซ์สุทธิ            ของน้ำมีทิศออกสู่ทะเลในทุกฤดูกาลโดยมีปริมาณเท่ากับ 0.15 X 106 m3/day ในช่วงฤดูแล้ง และ 1.57 X 106 m3/day ในช่วงฤดูน้ำมาก ฟลักซ์สุทธิทุกชนิดในฤดูน้ำมากมีค่าสูงกว่าในฤดูแล้งตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงสู่ทะเล โดยที่ฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำทุกชนิดมีทิศออกสู่ทะเลยกเว้นฟลักซ์ของไนเตรทในฤดูแล้งที่มีทิศ                 เข้าสู่แม่น้ำ ฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอยเท่ากับ 27.73 และ 60.68 ton/day ในฤดูแล้งและฤดูน้ำมากตามลำดับ ฟลักซ์ของแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ฟอสเฟต และซิลิเกต ในฤดูแล้งมีค่าเท่ากับ 137.32 kg N/day, 16.57 kg N/day, 55.60 kg N/day (ในทิศเข้าสู่แม่น้ำ), 70.29 kg P/day และ 1,719.11 kg Si/day ตามลำดับ และในฤดูน้ำมากมีค่าเท่ากับ 321.12 kg N/day, 49.70 kg N/day, 919.32 kg N/day, 107.91 kg P/day และ 17,362.61 kg Si/day ตามลำดับ คำสำคัญ :  ฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอย   ฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ   แม่น้ำระยอง   อ่าวไทย

Downloads

Published

2015-08-11

Issue

Section

Research Article